บันทึกไว้อ่าน Dunning Kruger effect


คุณอาจจะเคยสงสัยหรือเคยเจอ คนที่ไม่มีความสามารถหรือความสามารถยังไม่ถึง แต่กับมั่นใจในตัวเองเป็นอย่างมาก และมักจะยกเอาเหตุผลแปลกๆ เพื่อมายืนยันความคิดของเขา เพื่อให้เราเชื่อในสิ่งที่เขาพูด ซึ่งคนที่คิดว่าตัวเองเก่งทุกด้าน แต่เอาเขาจริงกับไม่ได้เรื่องสักอย่าง นั้นก็คือ นั้นก็คือปรากฎการของ “Dunning Kruger effect”

Dunning Kruger effect

เป็นอาการที่เกิดขึ้นในระดับ ‘การรับรู้’ ที่ว่าคนๆ หนึ่งคิดไปว่าตัวเองเก่งหรือรอบรู้ทุกอย่าง และไม่สามารถประเมินความสามารถจริงๆของตัวเองได้

นิยาม Dunning Kruger effect

Dunning Kruger effect ได้นิยามว่า การคนที่ไร้ความสามารถเท่าไร มักจะเต็มไปด้วยความมั่นใจ และกลับกันคนที่มีความสามารถที่แท้จริง จะยิ่งสงสัยในความสามารถของตัวเองมีพอสำหรับความรู้ทั้งหมดหรือยัง และยังขาดส่วนไหนที่ยังไม่รู้

กล่าวคือตอนที่คนที่รู้น้อยคิดว่าตัวเองฉลาดแล้ว นั้นเพราะเขาไม่รู้ว่าตัวเองไม่รู้อะไร แต่พอได้รู้มากขึ้น กลับมีความคิดว่าตนเองโง่ ก็เพราะได้รู้ความจริงมาว่าแท้จริงแล้วเราแทบไม่รู้อะไรเลย สิ่งที่เรารู้หรือมั่นใจไปเป็นเพียงแค่เศษเสี้ยวของความรู้ทังหมดที่มี

ส่วนคนที่สามารถประเมินตัวเองได้ว่า ตัวเองยังมีอะไรที่ไม่รู้ นั้นก็จะยิ่งเพิ่มความรู้ความสามารถได้มากขึ้น

ทั้งนี้ Dunning และ Kruger นักจิตวิทยาสังคมชาวอเมริกัน ได้อธิบายว่า การประเมินความสามารถของตนเองในเรื่องอะไรสักเรื่อง เราต้องมีความรู้ในเรื่องนั้นในระดับหนึ่งจึงจะบอกได้ว่าตัวเราเป็นคนที่รู้จริงหรือไม่รู้

คนที่รู้น้อย ก็จะขาดความสามารถในการประเมินทักษะความสามารถของจนเอง ว่า ตนเองยังไม่เข้าใจเรื่องไรในศาสตร์ที่กำลังศึกษาอยู่

กลับกัน คนที่รู้มากหรือเชี่ยวชาญมากในเรื่องใดเรื่องหนึ่งจะรู้ว่าขอบเขตของความรู้เรื่องนั้นดีที่สุด และสามารถประเมินทักษะและความสามารถของตนเองได้เป็นอย่างดี ถ้าหากอยากศึกษาศาสตร์ใดต้องรู้ลึกถึงขั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญถึงจะสามารถประเมินความสามารถของตนเอง

บทเรียนสำคัญของ Dunning-Kruger Effect ก็คือ “little knowledge can be dangerous” (การมีหลักฐานข้อมูลความรู้ที่น้อยเป็นภัยมากกว่าเป็นประโยชน์)

ก็เพราะ คนที่รู้น้อยไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็ตาม เขาก็จะถูกข้อมูลที่มีความจำกัดของเขาชักจูงให้มีความเชื่อผิดๆ ในเรื่องที่เขาเชื่อ

“ถ้าคุณทะเลาะกับคนโง่คุณจะไม่มีวันชนะ เพราะคนโง่จะใช้เหตุผลโง่ๆ มาเป็นเหตุผลให้ตัวเองรู้สึกว่าเขาชนะคุณ” ดังนั้นเราควรจะยืนดูอย่างชาญฉลาด และให้ความเห็นใจในตัวพวกเขา เมื่อคุณเข้าใจแล้วความหงุดหงิดของคุณก็จะมลายหายไป


Ref:

ทฤษฎีจิตวิทยา: ทำไมบางคนถึงโง่แล้วอวดฉลาด? (The Dunning-Kruger Effect)